สสจ.ฉะเชิงเทรา พัฒนาสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็ง ปีงบประมาณ 2561

สสจ.ฉะเชิงเทรา พัฒนาสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็ง ปีงบประมาณ 2561

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมศรีสุนทร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา จัดโครงการพัฒนาสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และน้ำแข็ง ปีงบประมาณ 2561 โดยมี นายเลิศชาย เลิศวุฒิ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการผู้ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และน้ำแข็ง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทาง การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และแนวทางในการพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารให้ผ่านตามเกณฑ์ GMP เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยมีวิทยากรจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการผู้ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็ง จำนวน 100 คน

ข่าว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สสจ.ฉะเชิงเทรา
ภาพ กลุ่มงานสื่อสารองค์กร สสจ.ฉะเชิงเทรา

แผนการตรวจราชการปี 2561

สสจ.ฉะเชิงเทราจัดโครงการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2561

วันที่ 29 มกราคม 2561 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข จัดโครงการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2561 โดยมีนายแพทย์ปรารถนา ประสงค์ดี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดการอบรม มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ สาธารณสุขอำเภอ เภสัชกรโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอมีศักยภาพและทักษะในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม สามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมเพทาย โรงแรมแกรนด์รอยัลพลาซ่า อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

UploadImage
UploadImage
UploadImage
UploadImage

UploadImage

แบบฟอร์มด้านวัตถุอันตราย

แบบฟอร์ม
1. คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 1)
2. คำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 7)
3. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียน (วอ. สธ 6)
4. คำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ.สธ 8)
5. ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน(LD 50) ของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย
6. แบบฟอร์มการส่งเอกสาร การแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม ขอผ่อนผันการส่งเอกสาร
7. หนังสือรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต
8. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินการ
9. สรุปรายการข้อมูลวัตถุอันตรายกรณีสารใหม่
10. คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (วอ.1)

 

การแบ่งชนิดและการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด ตามความเป็นอันตราย ความเสี่ยง และความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้

วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 

เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และ​ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่มีสารสำคัญเป็น
สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ ( anionic surfactants) หรือสาร ลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ
( nonionic surfactants ) ยกเว้น nonylphenol ethoxylate
•  ผลิตภัณฑ์กาว ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม alkyl cyanoacrylate
•  ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ที่มีสารสำคัญเป็น calcium hypochlorite, sodium hypochlorite,    dichloroisocyanuric acid and its salts, trichloroisocyanuric acid and its salts

   การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

​​


 

วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ี่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มี benzyl benzoate เป็นสารสำคัญ
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1    หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)

 การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
 การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2


วัตถุอันตรายชนิดที่ 3

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยง สูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มีสารสำคัญเป็นสาร chlorpyrifos
หรือสารกลุ่ม pyrethroids เป็นต้น
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค ที่มีกรด ด่าง หรือสารกลุ่ม ​aldehydes เป็นสารสำคัญ เป็นต้น

 การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
 การขออนุญาตวัตถุอันตราย 


 ​
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในค​วามรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
สาร DDT, chlordane, dieldrin ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เป็นต้น​

แบบฟอร์มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

แบบฟอร์ม

1.Certificate of Free Sale, Certificate of a Pharmaceutical Product, Translation
   353.gif CPP (แบบ 5 หน้า, แบบขวาง 1 หน้า) /CFS / Translation (ขอผ่านอินเตอร์เน็ต)


2.อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์
   353.gif อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์

5. ใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 และ 5
การขอหนังสือหนังสือรับรองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2/วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2

แจ้งประชาสัมพันธ์ ประกาศกระทรวงฉบับใหม่ (เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ)

กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออก  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ และ  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๘๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒) เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวโดยเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยประการใด ติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ ๐๒-๕๙๐-๗๑๗๓
และ ๐๒-๕๙๐-๗๑๗๙ ในเวลาราชการ

คลิกเพื่ออ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ

คลิกเพื่ออ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๘๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒)

คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ