ตรวจสอบข้อมูลยา,อาหาร,เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ยา, สมุนไพร, อาหารเสริม,เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆจากระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของ อย. ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์

แจ้งข่าว ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ

   สำหรับผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอต่ออายุตั้งแต่ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอต่ออายุเพิ่มตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

โดยค่าใช้ที่จะจัดเก็บจะจัดเก็บตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  1. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับยา กรุณาอ่าน
    1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์ยา พ.ศ. ๒๕๖๐
    2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
    3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๖๐
  2. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหาร กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
  3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องสำอาง กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๐
  4. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. ๒๕๖๐
  5. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๐

 

​อย.เตือนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างเป็นยาจากเวบไซต์อันตรายถึงตายได้ 

อย.เตือนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างเป็นยาจากเวบไซต์อันตรายถึงตายได้  จากกรณีมีคนตายจากการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(ตราบ้านแก้วใส) เลข อย. 10-1-24858-1-0043 โดยซื้อจากเฟสบุ้ค

ขั้นตอนการติดต่อตามพรบ.อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน(คู่มือประชาชน)

  1. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย อาหาร
  2. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย ยา
  3. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  4. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย ยาเสพติดให้โทษ
  5. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย เครื่องสำอาง
  6. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย เครื่องมือแพทย์
  7. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย วัตถุอันตราย
  8. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย สถานพยาบาล
  9. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

การจัดทำบัญชียาสำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557   (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กันยายน พ.ศ.2557 ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/172/9.PDF) กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้

1. บัญชีการซื้อยา ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตามแบบ ข.ย. 9

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

2. บัญชีการขายยาอันตราย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตามแบบ ข.ย.11 ดังนี้  

 (1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ

(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)

(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)

(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)

(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)

(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)

(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)

(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)

(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)

(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)

ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup)ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำบัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่  คลิก

3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ  ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย  ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย)


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด  รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตามแบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำบัญชี ข.ย.13 ดังนี้

(1)  ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม  และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

ความรู้สำหรับประชาชน : ไม่ชัวร์อย่าแชร์ หมูหยองไส้สำลี กรมวิทย์ตรวจสอบแล้ว ไม่จริง

จากข่าวลือที่แชร์กันอย่างแพร่หลายตามโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆว่ามีหมูหยองปลอมทำจากสำลี ล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจสอบและพบว่า ข่าวลือดังกล่าวไม่เป้นความจริงแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้กังวลและตื่นตระหนก

Print

ความรู้สำหรับประชาชน : วิธีกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง

วิธีการรับประทานยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
-เริ่มรับประทานวันแรกที่มีประจำเดือน (ช้ากว่านี้แต่ต้องไม่เกินวันที่ 5 ของรอบเดือน)
-รับประทานติดต่อกันทุกวันจนหมดแผงตามลำดับที่ฉลากยากำหนด
-ควรรับประทานยา เวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ทุกวันตอนเย็น , ก่อนนอน
– แบบ 21 เม็ด ฮอร์โมนทั้งหมด รับประทานยา 21 วันหยุดยา 7 วัน เมื่อครบ 7 วันให้เริ่มแผงใหม่ได้เลย ประจำเดือนจะมาช่วงหยุดยา
-แบบ 28 เม็ด จะแบ่งเป็น ฮอร์โมน 21 เม็ด , แป้ง 7 เม็ด รับประทานยาติดต่อกันทุกวันจนหมดแผงแล้วรับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย
ไม่ต้องหยุดยา ประจำเดือนจะมาช่วงที่รับประทานเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

590801_Infographic_ยาคุมกินยังไง_1031