เอกสารแนวทางการพิจารณาอนุญาตและแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

​ –คู่มือการดำเนินการสำหรับแจ้งการครอบครองกัญชามาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
 -​flow chart การแจ้งการครอบครองกัญชา ตาม ม.22 แห่ง พรบ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 (นิรโทษกรรม)
 –พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ 19 กุมภาพันธ์ 2562
-แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา พ.ศ. 2562
-​ แนวทางการปฏิบัติ ด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษาและการควบคุมการใช้สำหรับผู้ขอรับอนุญาตปลูก ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา

แบบแจ้งการมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา

บันทึกแจ้งการมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัวของผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

บันทึกแจ้งการส่งมอบและรับมอบยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาที่มีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่ใช้รักษาตัวเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัวตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

บันทึกแจ้งการมีไว้ในครอบครอง การส่งมอบและรับมอบยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาตามมาตรา ๒๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

พรบ.ยาเสพติดฉบับใหม่ แจ้งครอบครองกัญชาภาย 19 พ.ค. 62 ไม่ต้องรับโทษ

ประเด็นเรื่องกัญชากำลังเป็นประเด็นที่มาแรงในขณะนี้ ซึ่งประเด็นการครอบครองกัญชาก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ วันนี้ทาง อย.จะมาไขข้อสงสัยกันว่าใครที่สามารถครอบครองกัญชาได้บ้าง แล้วจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อไปยื่นครอบครองกัญชา

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดว่า ผู้ที่สามารถครอบครองกัญชาได้ ได้แก่

1. ผู้ป่วยที่มีกัญชาครอบครองเพื่อการรักษาอยู่แล้ว ผู้ป่วย หรือผู้แทนต้องมาแจ้งการมีไว้ครอบครองกัญชา

หลังพรบ.บังคับใช้ (19 กุมภาพันธ์ 2562) ภายใน 90 วัน

โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้

– เอกสารรับรองแพทย์ ต้องระบุโรคที่เป็น ,อาการโรค ,ชื่อผู้ป่วย ,ชื่อแพทย์ และเลขที่ใบรับรองของแพทย์

– ต้องนำกัญชาที่ใช้รักษาไปด้วย โดยหากมีปริมาณมาก สามารถถ่ายรูปกัญชาแทนได้

2. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย

3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

4. สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

5. วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร

6. ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ

7. ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว

8. อื่น ๆ ตามที่กระทรวงกำหนด

โดยการแจ้งการมีไว้ครอบครองกัญชานั้น

– หากผู้แจ้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งครอบครองได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.)

– หากผู้แจ้งอยู่ต่างจังหวัด สามารถแจ้งครอบครองได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในจังหวัดนั้น ๆ และสามารถมารับแบบฟอร์มเอกสารการมีไว้ครอบครองกัญชาได้ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา หรือดาวโหลดแบบฟอร์มเอกสารได้ที่http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/MARIJUANA62.aspx

อย.ประกาศผลตรวจพิสูจน์อาหาร 2 ฉบับ (ผลิตภัณฑ์คอร์ดิเซพส์ พลัส และ ร้านสโนไวท์)

ประกาศผลตรวจพิสูจน์อาหาร (ผลิตภัณฑ์คอร์ดิเซพส์ พลัส) คลิก

ประกาศผลตรวจพิสูจน์อาหาร (ร้านสโนไวท์) คลิก

เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาเสริมอาหาร I-RD อ้างช่วยให้ฟิตปึ๋งปั๋ง ย้ำผู้ขายมีความผิด ผู้บริโภคมีความเสี่ยง

อย. เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ทางสื่อออนไลน์อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ย้ำไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายได้ อย่าหลงเชื่อซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด อาจสูญเสียเงินและเป็นอันตรายได้ ผู้ที่มีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เตือนผู้ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับ

            นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กชื่อ “Wipavadee Choopong” นั้น อย. ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงข้อความในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ …คุณค่าที่ชายไทยคู่ควร I-RD #ชายท่านใดที่มีปัญหาเรื่องบนเตียงไอเรทช่วยคุณได้ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต และเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดเป็นเพียงอาหารชนิดหนึ่งไม่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ และไม่ได้ช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายขาดได้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเสียเงินโดยไม่มีความจำเป็นแล้ว หากมีโรคประจำตัวอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด

อ่านข่าวฉบับเต็ม

สสจ.ฉะเชิงเทรา ตรวจสอบอาหารและขนม ภายในงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น. นางลลิตา พรพนาวัลย์ หัวหน้ากลุ่มงานกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานฯ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายในงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร กับขนมชนิดหนึ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขนมควันทะลัก” ซึ่งขนมชนิดนี้ ได้ทีมีการนำไนโตรเจนเหลวเข้าไปเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตขนมทำให้เกิดควันพวยพุ่งออกมา เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และดึงดูดผู้บริโภคให้มาซื้อขนมชนิดนี้ไปรับประทาน ซึ่งไนโตรเจนเหลวเป็นก๊าชเฉื่อยที่ไม่มีสี กลิ่น และรส ประโยชน์ของไนโตรเจนเหลวมักใช้ในการแช่แข็งอาหาร และเก็บรักษาอาหารที่ต้องใช้ความเย็นจัด จากการตรวจสอบพบว่า ถังที่ใช้บรรจุไนโตรเจนเหลว มีมาตรฐานรับรอง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำกระบวนการใช้ไนโตรเจนเหลวที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย โดยให้ผู้ประกอบการกรองเอาไนโตรเจนเหลวออกให้หมดก่อน ตักเพียงเฉพาะขนม ให้แก่ผู้บริโภคเท่านั้น รวมถึงให้ผู้ประกอบการ ระมัดระวังการสัมผัสไนโตรเจนเหลวโดยตรง สำหรับการรับประทานขนมชนิดนี้ให้ถูกวิธี โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสไนโตรเจนเหลวโดยตรง เพราะการรับประทานไนโตรเจนเหลวจะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ต้องรอให้ควันของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการรับทราบ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา มีแผนในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพ/ข่าว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา

สสจ.ฉะเชิงเทรา ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น. ณ งานนมัสการพระพุทธโสธร ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพุทธโสธร ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารสด หอยนางรม ณ สถานที่จำหน่ายหอยนางรม ที่เคยตรวจสอบพบสารปนเปื้อนฟอร์มาลีน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 การเก็บตัวอย่างหอยนางรมตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่าไม่มีการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนในหอยนางรม รวมถึงไม่พบว่ามีการนำปลาหมึกกรอบและสไบนางที่พบสารฟอร์มาลีนมาจำหน่ายอีก เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงให้ผู้ประกอบการทราบว่าจะมีการตรวจเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ถ้าพบว่ายังมีการจำหน่ายสินค้าที่มีการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนจะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ต่อจากนั้น ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหาร ณ บริเวณริมน้ำหน้าโรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ สารฟอกขาว สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน และน้ำมันทอดซ้ำ จำนวนทั้งหมด 65 ตัวอย่าง ได้แก่ ลูกชิ้น หมึกสด ปู อาหารหมักดอง แป้งสำหรับประกอบอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ ผักสด เช่น แตงกวา ถั่วงอก ขิงซอย ซึ่งผลการตรวจสอบไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร โดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข มีแผนในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพ/ข่าว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา