แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง กรณีเรียกเก็บคืน “ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)” หลังพบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบ

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เผยแพร่ข่าว การเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) จำนวน 5 ตำรับ ของบริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และบริษัท ยูนีซัน จำกัด ต่อไปนี้

บริษัทผู้รับอนุญาต ชื่อการค้า เลขทะเบียนตำรับ
บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด VALATAN 80 1A 9/54 (NG)
VALATAN 160 1A 10/54 (NG)
บริษัท ยูนีซัน จำกัด VALSARIN 80 1A 4/60 (NG)
VALSARIN 160 1A 5/60 (NG)
VALSARIN 320 1A 6/60 (NG)

หมายเหตุ: กดที่ชื่อการค้าของยา เพื่อดูรายละเอียดการเรียกเก็บคืนยาแต่ละรายการ

เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตยาดังกล่าวของโรงงาน Zhejiang Huahai Pharmaceuticals ซึ่งได้รับแจ้งการตรวจพบสารปนเปื้อนที่อาจก่อมะเร็ง และมีการเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ของบริษัทต่างๆ ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตยาจากแหล่งดังกล่าว ในหลายประเทศแล้วเช่นกัน นั้น

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้แจ้ง คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ยาที่มียาตำรับดังกล่าวข้างต้นที่มีการเรียกเก็บคืน  รวมทั้งคำแนะนำสำหรับ แพทย์ คลินิก ร้านยา

คำแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ยาที่มียาตำรับดังกล่าวข้างต้นที่มีการเรียกเก็บคืน

  1. นำยาไปเปลี่ยน ณ โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลที่ได้รับการจ่ายยา
  2. หากยังไม่สามารถไปเปลี่ยนยาได้ในระยะนี ขออย่าได้หยุดการใช้ยา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (กลุ่ม Angiotensin II Receptor Blocker: ARB) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสารปนเปื้อนที่พบในผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว จากการศึกษาข้อมูลความปลอดภัยย้อนหลัง ยังไม่พบว่า ผู้ป่วยมีประเด็นการเกิดมะเร็งจากยานี้ที่ใช้วัตถุดิบจากจีน
  3. ผู้ป่วยที่เคยได้รับผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น โดยยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้
    ทั้งนี้ ทะเบียนที่มีตัวยาสำคัญวาลซาร์แทน ที่ยังสามารถใช้ได้อยู่ ปัจจุบันรวมทุกความแรงมีจำนวน 38 ทะเบียนตำรับ แบ่งเป็นของผู้นำเข้า 31 ตำรับ และของผู้ผลิตในไทย 7 ตำรับ
  4. สามารถใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ในยายี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ใน 5 ตำรับดังกล่าว

คำแนะนำในการปฏิบัติสำหรับ แพทย์ คลินิก ร้านยา 

  1. ตรวจสอบยา เพื่อคืนยาให้แก่บริษัท นำไปทำลายต่อไป
  2. ตรวจสอบรายชื่อคนไข้ที่จ่ายยา และรีบติดต่อให้มาเปลี่ยนยา

ขอเชิญผู้เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจติดตามรายละเอียด/ download เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ข้างต้น ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (www.fda.moph.go.th) หรือกดที่ link ต่อไปนี้
ข่าวประชาสัมพันธ์
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่ 16 กรกฎาคม 2561

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ด่วน!! อย. เรียกเก็บคืน “ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)” 5 ตำรับ

ามที่มีการเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ในประเทศต่างๆ  จากบริษัทผู้ผลิตซึ่งมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตยาดังกล่าวของ บริษัท Zhejiang Huahai Pharmaceuticals เนื่องจากพบสารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยานั้น

ในประเทศไทย มีบริษัทผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาวาลซาร์แทนเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน 7 บริษัท และมีทะเบียนตำรับยาที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย จำนวนทั้งสิ้น 14 ตำรับ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า  มีบริษัทผู้รับอนุญาตที่ใช้วัตถุดิบจาก Zhejiang Huahai Pharmaceuticals เพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และ บริษัท ยูนีซัน จำกัด ซึ่งมีเลขทะเบียนตำรับ รวม 5 ตำรับ ได้แก่

บริษัทผู้รับอนุญาต เลขทะเบียนตำรับ
บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด 1A 9/54 (NG)
1A 10/54 (NG)
บริษัท ยูนีซัน จำกัด 1A 4/60 (NG)
1A 5/60 (NG)
1A 6/60 (NG)

ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับทุกรุ่นการผลิตคืนจากท้องตลาดภายใน 15 วัน พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาทั้งสองแห่ง ระงับการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนทุกทะเบียนที่มีการใช้วัตถุดิบวาลซาร์แทนจากแหล่งผลิตดังกล่าวเป็นการชั่วคราว รวมทั้งระงับการจำหน่ายเภสัชเคมีภัณฑ์วาลซาร์แทน ที่มาจากแหล่งผลิตดังกล่าวแล้ว

และได้ขอความร่วมมือผู้ใช้ยาตรวจสอบเลขทะเบียนตำรับของผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนที่ใช้อยู่ หากตรงกับเลขทะเบียนตำรับข้างต้น ให้ส่งกลับคืนสถานพยาบาลหรือร้านยาที่จ่ายยาดังกล่าว เพื่อดำเนินการทำลายยาต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เคยได้รับผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งดังกล่าวได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น

กดที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด/ download เอกสาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 U.S.FDA announces voluntary recall of several medicines containing valsartan following detection of an impurity

 EMA reviewing medicines containing valsartan from Zhejiang Huahai following detection of an impurity

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา วันที่ 14 กรกฎาคม 2561
U.S.FDA News Release 13/7/2018
The European Medicines Agency (EMA) Press Release 5/7/2018

ด่วน!! รับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ

ด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทยา มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดระดับ “ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคติน ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ รูปแบบหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (chewing gum)” จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” และเห็นชอบเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนของยารูปแบบดังกล่าว (มติที่ประชุมฯ ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560, ครั้งที่ 3/2561 ในวันที่ 24 เมษายน 2561 และ ครั้งที่ 4/2561 วันที่ 7 มิถุนายน 2561

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยสำนักยา จึงได้จัดทำ(ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ คือ

  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2561 
    เพื่อให้มีการปรับลดระดับ“ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคติน ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ รูปแบบหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (chewing gum)” จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” และผู้รับอนุญาตฯ ที่ต้องการขอขึ้นทะเบียน หรือแก้ไขทะเบียนตำรับยาจะต้องยื่นคำขอฯ พร้อมกับเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนซึ่งมีรายละเอียดตามเอกสารท้ายประกาศ โดยเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนนี้ได้ผ่านการทดสอบ user testing แล้ว
  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่.. พ.ศ. 2561 
    เพื่อให้มีการยกเว้นว่าไม่ต้องใส่ข้อความคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับยาสำหรับเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน เนื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทยาได้พิจารณาอนุญาตข้อความในเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน โดยมีการปรับข้อความจากคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับยาไปใส่ในหัวข้อต่างๆ ตามความเหมาะสม และเหมาะกับการใช้ยาโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ เข้าใจได้ง่าย ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย

และเปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถส่งความเห็น กลับไปยัง druglaw@fda.moph.go.th หรือ druglawfda@gmail.com ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2561

กดที่ link ต่อไปนี้ เพื่อศึกษารายละเอียด/ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อย. ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฝ่าฝืนโทษหนักขึ้น จำคุกสูงสุดถึง 20 ปี และปรับถึง 2 ล้านบาท

อย. ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 เอาโทษถึงที่สุด หากผลิต นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท หากขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท รวมถึงการครอบครองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดด้วย

        วันนี้ (24 พฤษภาคม 2561) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทว่า จากกรณีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   ที่มีการลักลอบใส่ไซบูทรามีนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต โดยไซบูทรามีน (Sibutramine) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกไม่อยากอาหารและส่งผลข้างเคียงกับคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ ปี 2553 ทางประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกไม่ให้ใช้ยานี้ รวมทั้งในประเทศไทยได้มีการเรียกเก็บยาที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาดและยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน แต่ปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยังแอบเจือปนสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อหวังลดน้ำหนัก ซึ่งเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ใดผลิต จำหน่ายมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมายังพบการลักลอบใส่สารไซบูทรามีนในหลายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงเสนอคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559  ซึ่งหากผลิต นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสมจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท หากขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท รวมถึงการครอบครองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดด้วย

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถลดความอ้วนได้ หากมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยรักษาโรค ลดความอ้วน หรือมีผลในทางยา ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีส่วนผสมของยา ซึ่งผู้ใช้อาจได้รับผลข้างเคียงจากยานั้น  จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากผู้บริโภคต้องการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและควบคุมอาหาร รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากผู้บริโภคต้องการใช้ยาลดความอ้วนจะต้องใช้ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจส่งผลกระทบ กับสุขภาพและชีวิต การใช้ยาลดความอ้วนไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งแล้วจะทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า YO – YO Effect หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต/จำหน่ายยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

ดาวน์โหลดเอกสารแนบที่นี่

ประชาสัมพันธ์ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา และข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 63 (ยาที่มีส่วนผสมของฟ้าทะลายโจร)

กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา และข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 63 ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้

ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (66) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคําเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกํากับยาและข้อความของคําเตือน ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคําเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกํากับยาและข้อความของคําเตือน ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

“(66) ยาที่มีส่วนประกอบของ ฟ้าทะลายโจร
คําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับยา
1. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ฟ้าทะลายโจร เช่น มีผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ให้หยุดยาทันที และพบแพทย์
คําเตือนในเอกสารกํากับยา
4. หากใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วไม่ดีขึ้น หรืออาการรุนแรงขึ้น ระหว่างการใช้ยา
ควรหยุดใช้ และพบแพทย์
5. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทําให้แขนขามีอาการอ่อนแรง”

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 89 ง วันที่ 19 เมษายน 2561 หน้า 6)

กดที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด/download เอกสาร

แบบฟอร์มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

แบบฟอร์ม

1.Certificate of Free Sale, Certificate of a Pharmaceutical Product, Translation
   353.gif CPP (แบบ 5 หน้า, แบบขวาง 1 หน้า) /CFS / Translation (ขอผ่านอินเตอร์เน็ต)


2.อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์
   353.gif อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์

5. ใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 และ 5
การขอหนังสือหนังสือรับรองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2/วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2

การจัดทำบัญชียาสำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557   (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กันยายน พ.ศ.2557 ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/172/9.PDF) กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้

1. บัญชีการซื้อยา ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตามแบบ ข.ย. 9

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

2. บัญชีการขายยาอันตราย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตามแบบ ข.ย.11 ดังนี้  

 (1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ

(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)

(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)

(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)

(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)

(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)

(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)

(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)

(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)

(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)

ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup)ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำบัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่  คลิก

3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ  ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย  ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย)


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด  รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตามแบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำบัญชี ข.ย.13 ดังนี้

(1)  ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม  และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก